DESICCANT

Diatomaceous Earth Desiccant

เป็นสารดูดความชื้นชนิด ดินไดอะตอม ที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการดูดความชื้น และ ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เป็นอย่างมาก เป็นดินธรรมชาติจากประเทศเดนมาร์ก เรียกว่า “MolerClay” ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการดังนี้

  • ความสามารถในการดูดความชื้นที่มีมากถึง 75 % ของน้ำหนักตัวเอง
  • อายกุารใช้งานที่ยาวนานตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป
  • ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

No Man Can Tame The Ocean

การควบแน่นของความชื้นภายในตู้คอนเทนเนอร์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สินค้าส่งออกทางทะเลได้รับความเสียหาย เช่น สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารและยา สินค้าประเภทเซมิคอนดักเตอร์ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมี ตลอดจนผลิตภัณฑ์โลหะต่างๆ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทำให้อากาศมีการดูดซับความชื้นในระดับที่แตกต่างกันไป อากาศที่ “ร้อน” สามารถดูดซับความชื้นได้มากกว่าอากาศที่ “เย็น” เมื่ออากาศเย็นลง ความชื้นจะเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำ เป็นหยดน้ำตามบริเวณเพดาน หรือ ผนังตู้คอนเทนเนอร์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวสินค้าได้โดยตรง หรือทำให้ความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ลดลง และไม่สามารถรองรับน้ำหนักของสินค้าได้

การใช้สารดูดความชื้นที่เหมาะสมภายในบรรจุภัณฑ์หรือตู้คอนเทนเนอร์ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการป้องกันความเสียหายของสินค้าจากความชื้นในการส่งออกสินค้าทางทะเล

คุณสมบัติพิเศษ

เป็นสารดูดความชื้นชนิด ดินไดอะตอม ที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการดูดความชื้น และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เป็นอย่างมาก เป็นดินธรรมชาติจากประเทศเดนมาร์ก เรียกว่า “Moler Clay

Moler Clay เป็นดินไดอะตอม (Diatomaceous Earth) ชนิดหนึ่ง ที่มีโครงสร้างพิเศษ และ พบเฉพาะในประเทศเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1979 บริษัท Anders Bendit ซึ่งเป็นตัวแทนเดินเรือ ได้ทำการทดลองคิดหาวิธี ที่จะช่วยให้ลูกค้าในการป้องกันสินค้าเสียหายจากความชื้น จากการขนส่งทางทะเล จากการทดลองวิจัย และพัฒนาพบว่า Moler Clay ในประเทศเดนมาร์ก ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ เถ้าถ่านภูเขาไฟ และ ไดอะตอม (พืชเซลล์เดียว) ทำให้ลักษณะโมเลกุลของ Moler Clay มีความเป็นรูพรุนถึง 60% ของสสารโดยรวม ด้วยเหตุนี้ Moler Clay จึงมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดีเยี่ยม

Diatomaceous Earth Desiccant

จากคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นของ Moler Clay ทำให้ม่ีคุณสมบัติเด่น 3 ประการ ดังนี้

  1. ความสามารถในการดูดความชื้นที่มากถึง 75% ของน้ำหนักตัวเอง (มากกว่า Silica Gel ถึง 2 เท่าตัว) ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหาย จากความชื้นได้เป็นอย่างดี
  2. อายุการใช้งานที่ยาวนาน นานถึง 45-90 วัน ความเร็วในการดูดความชื้นนั้นจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ตามความชื้นสัมพันธ์รอบข้าง โดยจะพยายามรักษาสมดุลย์ของความชื้นสัมพัทธ์ ภายในบรรจุภัณฑ์ หรือ ตู้คอนเทนเนอร์ ไม่ให้ต่ำหรือสูงจนเกินไป อายุการใช้งานที่ยาวนาน (เทียบกับ Silica Gel ที่อิ่มตัวได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือ ไม่กี่วันป ช่วยทำให้ สินค้าได้รับการป้องกัน จากความชื้นตลอดระยะเวลาตั้งแต่การจัดเก็บ จนกระทั่งการขนส่งสินค้าถึงจุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์
  3. ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองความปลอดภัยในการจัดเก็บ การใช้งาน และการกำจัด ภายหลังการใช้งานจากรัฐบาลประเทศเดนมาร์ก ผู้ใช้งานจึงมีความมั่นใจถึงความปลอดภัย ในการใช้งานและไม่ต้องกังวลใจต่อการกำจัดหลังการใช้งาน ณ ประเทศปลายทาง

นอกจากนี้สารดูดความชื้น ยังมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตฐานสารดูดความชื้นระดับสากล กล่าวคือ US-Mil-Spec D3464D (ประเทศสหรัฐอเมริกา) DIN 55.473 (ประเทศเยอรมณี) และได้ผ่านการทดสอบจากสถาบันที่มีชื่อเสียงคือ Cambridge Refrigeration Technology (ประเทศอังกฤษ) และ BFSV (ประเทศเยอรมณี)

ชนิดและขนาดต่างๆ ของสารดูดความชื้นเพื่อการขนส่งสินค้าและบรรจุภัณฑ์

ใช้งานง่ายโดยวางไว้ภายในตู้คอนเทนเนอร์ (วางบนตัวสินค้าชั้นบนสุด และกระจายตามบริเวณด้านหน้า และด้านหลังของตู้คอนเทนเนอร์ หรือผูกไว้กับ ตะขอแขวน Hook / Latching Eye ด้านบนของตู้คอนเทนเนอร์) หรือใช้ร่วมกับพลาสติก ระหว่างการทำ Shrink-Wrap ห่อสินค้า หรือ สามารถวางไว้ภายในกล่อง หรือ บรรจุภัณฑ์ของสินค้า

สำหรับการขนส่งนั้น บรรจุอยู่ในถุงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ 2 ชนิด คือ ถุงผ้าพิเศษ และ กระดาษ TYVEK จาก Du Pont ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีรูพรุนสูงทำให้อากาศไหลเวียนผ่านด้วยดี ซึ่งเป็นผลทำให้สามารถดูดจับอณูของความชื้นในอากาศไว้ในตัวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Recommendetion of Use
General Recommendetion

Recommendetion of Use

Quantlity
Volume
Destination / Season / Package
1 g
25 cc
Inside Product Package
5 g
100 cc
Inside Product Package
10 g
250 cc
Inside Product Package
25 g
1,000 cc
Inside Product Package
100 g
5,000 cc
Inside Product Package
250 g
500 g
1,000 g
2 kg
20'TEU
12 Kilogram during Apr. - Sep. to USA, EU, Japan, Intra-asia
16 Kilogram during Oct. - Mar. to USA, EU, Japan, Intra-asia

ข้อแนะนำการใช้งานโดยทั่วไป :

ปริมาตร 4 ลบ.ฟุต (หรือประมาณ 60x60x30 cm.) : 100g = 1 ชิ้น

ปริมาตร 1 ลบ.ฟุต (หรือประมาณ 30x30x30 cm.) : 25g = 1 ชิ้น

ปริมาตร 1/3 ลบ.ฟุต (หรือประมาณ 30x30x10 cm.) : 10g = 1 ชิ้น

ปริมาตร 1/5 ลบ.ฟุต (หรือประมาณ 30x20x10 cm.) : 5g = 1 ชิ้น

 

ปริมาณของสารดูดความชื้นที่ควรใช้ในการขนส่งสินค้านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. จุดหมายปลายทางของสินค้า
  2. ระยะเวลาขนส่ง (รวม LEAD TIME ในการขนส่ง)
  3. ฤดูกาลที่ขนส่งสินค้า
  4. ประเภทของสินค้า

 

การเลือกใช้สารดูดความชื้น

การเลือกใช้สารดูดความชื้นสำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งนั้น หมายถึง การเลือกชนิด ปริมาณสารดูดความชื้น และลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ของสารดูดความชื้น

4 ปัจจัยสำคัญในการเลือกสารดูดความชื้น ได้แก่

  1. แหล่งที่มาของความชื้น
  2. สภาพแวดล้อมของการส่งสินค้า
  3. ปริมาณความชื้น
  4. ชนิดของบรรจุภัณฑ์สารดูดความชื้น

1.แหล่งที่มาของความชื้น

แหล่งที่มาของความชื้น แหล่งที่มาทั้ง 3 ประเภท กล่าวคือ ตัวสินค้าเอง อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ และอากาศแวดล้อม ของบรรจุภัณฑ์ (ที่ซึมผ่านบรรจุภัณฑ์) เป็นปัจจัยในการกำหนดบริเวณที่สารดูดความชื้นควรถูกจัดวาง และลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ของสารดูดความชื้น

A) ตัวสินค้าเองจะมีความชื้นภายใน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าเป็นสำคัญ สินค้าจำพวกอาหาร จะมีระดับความชื้นสูงกว่าสินค้าทั่วๆ ไป หากระดับความชื้นเกินกว่าสมดุลที่สินค้าจะเก็บไว้ภายในก็จะปล่อยออกสู่อากาศ

B) อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ คือ อากาศที่เข้าสู่บรรจุภัณฑ์ในขณะที่สินค้าถูกบรรจุ ปริมาณของอากาศและความชื้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการบรรจุว่า อากาศภายนอก สามารถเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ในระหว่างการบรรจุได้มากน้อยเพียงไร

C) อากาศแวดล้อมจะเข้าสู่บรรจุภัณฑ์ในระหว่างการจัดเก็บ และขนส่งสินค้า

ชนิดของวัสดุบรรจุภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ในการป้องกันการซึ่มผ่านของไอน้ำอากาศแวดล้อม อัตราการซึมผ่านของความชื้นของวัสดุป้องกันมีหน่วยวัดเป็น ปริมาณไอน้ำ (กรัม) ต่อ ตารางเมตร ต่อ 24 ชั่วโมง โดยวัดที่อุณหภูมิ และระดับความชื้นสัมพัทธ์ หนึ่งๆ เช่น

ณ 38c 90% rH
MVTR (อัตราการซึมผ่านของไอน้ำ)
Polyyethylene 200 micron
0.4 กรัม
Polyyethylene 100 micron
0.8 กรัม
Alufoil A30
0.1 กรัม
Aluminium Barrier Foil
0.05 กรัม
Thin Polybag
10.0 กรัม
Heavy Duty Polybag (500 guage)
3.4 กรัม
Heavy Duty Polybag (1,000 guage)
2.0 กรัม

การเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นที่เหมาะสม สามารถที่จะลดการซึมผ่านของความชื้นจากอากาศด้านนอกเข้าสู่บรรจุภัณฑ์สินค้า ได้เป็นอย่างดี หากแหล่งที่มาของความชื้นเกิดจากตัวสินค้าเอง หรือ ภายในบรรจุภัณฑ์ ควรรเลือกสารดูดความชื้นที่สามารถจัดวางไว้ภายในบรรจุภัณฑ์สินค้า ซึ่งอาจมีการสัมผัสกับตัวสินค้าเองก็ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร และ ยา ซึ่งต้องการสารดูดความชื้นที่บรรจุในซองขนาดเล็กที่จะใส่เข้าไปในขวดยา หรือ ซองบรรจุอาหาร

อย่างไรก็ตาม หากแหล่งความชื้นมาจากอากาศสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์ควรเลือกชนิดของสารดูดความชื้นที่เหมาะสม ในการวางไว้ในบริเวณใกล้เคียงที่สามารถดูดความชื้นบริเวณรอบข้าง ของบรรจุภัณฑ์สินค้าได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ความชื้นรอบข้างซึมผ่านเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ หรือ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรจุภัณฑ์ได้ การควบแน่นของความชื้นตามพื้นผิวบรรจุภัณฑ์สินค้าย่อมทำให้หมึกพิมพ์ ความแข็งแรงและความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ลดน้อยลงได้

2.สภาพแวดล้อมของการขนส่งสินค้า

การขนส่งสินค้าจากสถานที่จัดเก็บสินค้าไปจุดหมายปลายทางย่อมได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อม ในระหว่างการขนส่งไม่มากก็น้อย ในการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศนั้น สินค้าถูกเคลื่อนย้ายผ่านบริเวณที่มีสภาพอากาศแตกต่างกัน และอาจใช้ระยะเวลาในการขนส่ง (Lead Time) ค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของสินค้าจะมีความรุนแรงมากกว่าการขนส่งสินค้าทางเรือจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในฝั่งยุโรปตะวันตกใช้เวลาประมาณ 25-45 วัน และมีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่แตกต่างจากประเทศไทยมาก โอกาสที่สินค้าจะได้รับความเสียหายจากความชื้น จะมีมาก หากไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง และเหมาะสม การขนส่งสินค้าทางเรือไปประเทศญี่ปุ่น หรือ ประเทศจีน แม้จะใช้เวลาเพียง 10-14 วัน แต่อุณหภูมิ และ ความชื้นสัมพัทธ์ที่แตกต่างระหว่างประเทศค่อนข้างมาก ก็เป็นเหตุให้การป้องกันสินค้าจากความชื้นมีความสำคัญไม่น้อยกว่าการขนส่งสินค้าไปประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ทวีปยุโรปเลย การป้องกันสินค้าเสียหายจากสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ ย่อมต้องการสารดูดความชื้นที่มีความเหมาะสม กล่าวคือ ความสามารถในการดูดความชื้นสูง ความเร็วในการดูดความชื้นไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป และไม่คายความชื้นโดยง่าย

3.ปริมาณความชื้น

ปริมาณความชื้นที่อาจทำความเสียหายแก่สินค้า ปริมาณความชื้นสามารถคำนวณโดยคร่าวๆ จากแหล่งที่มาของความชื้น และสภาพแวดล้อมของการขนส่งสินค้า การคำนวณหาปริมาณความชื้นสำหรับการขนส่งสินค้าระยะทางไกล และใช้เวลานาน เช่น การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาถึงปริมาณความชื้นที่สินค้าอาจจะได้รับจากสภาพแวดล้อมตลอดระยะทาง หรือ เวลาของการขนส่ง การส่งสินค้าทางเรือไปต่างประเทศโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ควรพิจารณาถึงปริมาณความชื้น ณ สถานที่บรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ และปริมาณความชื้นในทะเล ที่อาจจะเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์ได้เป็นสำคัญ ปริมาณความชื้น ดังกล่าว อาจมีมากถึง 4 ลิตร (ตู้คอนเทนเนอร์แห้ง ขนาด 20 ฟุต) สำหรับสินค้าส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา หรือทวีปยุโรป

สารดูดความชื้นแต่ละชนิด มีคุณสมบัติพื้นฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงความสามารถในการดูดความชื้น ความเร็วในการดูดความชื้น และความสามารถในการกักเก็บความชื้นไว้ภายใน โดยมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่คือ US-Mil-Spec D3464 (ประเทศสหรัฐอเมริกา) DIN 55.473 (ประเทศเยอรมณี) JIS-Z 0701 (ประเทศญี่ปุ่น) สารดูดความชื้นได้รับการทดสอบภายใต้อุณหภูมิ ประมาณ 22-25 c และความชื้นสัมพัทธ์ ตั้งแต่ 20%-90% โดยเหตุนี้ การใช้สารดูดความชื้นสำหรับประเทศไทยที่มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 35 c และความชื้นสัมพัทธ์ 75%-85% นั้น จึงต้องพิจารณาถึงความสามารถของสารดูดความชื้นที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง

4.ชนิดของบรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้น

บรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้นที่ดีนั้น ต้องไม่ขัดขวางการทำงานของสารดูดความชื้นป้องกันไม่ให้สารดูดความชื้น หลุดรอดออกจากบรรจุภัณฑ์ และ มีความเหมาะสมกับสินค้า และสภาพแวดล้อมในการขนส่งสินค้า การใช้สารดูดความชื้นกับผลิตภัณฑ์อาหาร และยานั้น จะบรรจุสารดูดความชื้น พร้อมซองไว้ภายในขวดยา หรือ ซองอาหาร บรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้นจะสัมผัสโดยตรงกับอาหารและยา โดยเหตุนี้ บรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้นต้องมีความสะอาดพอ ไม่ฉีกขาดง่ายป้องกันการหลุดรอดของสารดูดความชื้น นอกจากนี้ควรได้รับการรับรองจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการอาาหารและยา เป็นต้น

ในขณะเดียวกันการใช้สารดูดความชื้นสำหรับตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ควรพิจารณาถึงบรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้นที่ต้องสามารถรองรับน้ำหนักของสารดูดความชื้นปริมาณมาก ทนทานต่อการฉีกขาด และแรงกระแทกต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่งการขนส่งสินค้า หากบรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้นฉีกขาด ทำให้สารดูดความชื้นหลุดรอดออกมาจากบรรจุภัณฑ์แล้ว สินค้าจะได้รับความเสียหายจากความชื้น และอาจได้รับความเสียหายโดยตรง จากสารดูดความชื้นที่ร่วงหล่นตามตู้คอนเทนเนอร์ หรือ ที่ร่วงใส่บรรจุภัณฑ์สินค้าได้

 

ความชื้นสัมพัทธ์คืออะไร

ความชื้นสัมพัทธ์

หน่วยวัดที่นิยมใช้ในการวัดระดับความชื้นในอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity -rH) ซึ่งหมายถึงอัตราส่วนของปริมาณไอน้ำที่มีในอากาศ ณ ขณะนั้น เทียบกับปริมาณไอน้ำที่อากาศจะรองรับได้ หากระดับไอน้ำ ณ ขณะนั้นมากเกินกว่า (>100%) ความสามารถของอากาศจะรองรับได้ ไอน้ำจะควบแน่น (Condensation) และกลายเป็นหยดน้ำในที่สุด แรงดันไอน้ำ และความสามารถในการรองรับปริมาณไอน้ำ ณ อุณหภูมิที่สูงกว่าจะมีมากกว่าแรงดันไอน้ำ และ ความสามารถในการรองรับปริมาณไอน้ำ ณ อุณหภูมิที่ต่ำกว่า โดยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะมีผลโดยตรงต่อแรงดันไอน้ำ และความสามารถดังกล่าว ระดับอุณหภูมิที่ทำให้ไอน้ำเกิดการอิ่มตัว (Saturation) และควบแน่น เรียกว่า จุดน้ำค้าง (Dew Point) ตารางต่อไปนี้แสดงถึงจุดน้ำค้าง (องศาเซลเซียส-C) แรงดันไอน้ำ และปริมาณไอน้ำ ณ อุณหภูมิต่างๆ

ข้อมูลจากตาราง แสดงให้เห็นว่าที่อุณหภูมิ 35 C แรงดันไอน้ำเท่ากับ 0.8156 (หน่วยเป็น PSIG) และสามารถรองรับปริมาณไอน้ำได้ไม่เกิน 39.5383 กรัมต่อลูกบาศ์กเมตร หากความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 85% ณ อุณหภูมิ 35 C แรงดันไอน้ำ เท่ากับ 0.6933 และ อากาศขณะนั้น มีปริมาณไอน้ำ ประมาณ 33.6076 กรัมต่อลูกบาศ์กเมตร หากอุณหภูมิลดลงไป ที่ระดับ 30 C ซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณไอน้ำได้เกิน 30.3212 กรัมต่อลูกบาศ์กเมตร ปริมาณไอน้ำส่วนเกิน 3.2864 กรัมต่อลูกบาศ์กเมตร จะควบแน่นกลายเป็นน้ำ หากเราทราบถึงระดับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในระหว่างการบรรจุ การจัดเก็บ และการขนส่งสินค้า ก็สามารถคำนวณได้ว่าปริมาณไอน้ำที่จะส่งผลเสียหายต่อสินค้านั้น มีมากน้อยเพียงไร

Dew Point
(degree c)
Vapor Pressure (PSIG)
Water Content (g/cu.m.)
0
0.0886
4.8452
10
0.1780
9.3902
15
0.2472
12.8122
20
0.3390
17.2724
25
0.6516
23.0111
30
0.8586
30.3212
35
0.8156
39.5383
40
1.0700
51.0509
45
1.3902
65.2722
50
1.7897
82.7282
55
2.2838
103.9594
60
2.8900
129.5802

 

สารดูดความชื้นมีอะไรบ้าง?

สารดูดความชื้น นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันสินค้าจากความชื้น ที่มาจากแหล่งความชื้นทั้ง 3 ลักษณะ (ตัวสินค้า อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ และอากาศแวดล้อม) การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ดีย่อมลดหรือขจัดแหล่งความชื้นจากอากาศแวดล้อมได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แหล่งความชื้นจากตัวสินค้าเอง และ อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ในระหว่างการบรรจุนั้นเป็นสิ่งที่ต้องกำจัด หรือจำกัดด้วยสารดูดความชื้นชนิดต่างๆ เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้สมบูรณ์อยุ่เสมอ สารดูดความชื้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีคุณลักษณะ และความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ซิลิกา เจล
  2. ไดอะตอมมาเชียส เอิร์ธ
  3. มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์
  4. โมเลกุลลาร์ ซีฟ
  5. แคลเซียม ออกไซด์
  6. แคลเซียม ซัลเฟต

1.ซิลิกา เจล (Silica Gel)

เป็นสารสังเคราะห์ในรูปของซิลิกอนไดออกไซด์ (Silicon Dioxide, SiO2) ที่มีพื้นผิวมากประมาณ 800 ตารางเมตร ต่อ 1 กรัม การดูดความชื้นของซิลิกา เจล เป็นลักษณะทางกายภาพ (Physical Adsorption) โดยกักเก็บความชื้นไว้ที่โพรงโครงสร้างด้านใน ซิลิกา เจล ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในบรรจุภัณฑ์ ยาและอาหาร โดยปกติ ซิลิกา เจล สามารถดูดความชื้นได้ระหว่าง 24-40% ของน้ำหนักตัวเอง และมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25C หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ ประสิทธิภาพในการดูดความชื้นจะลดลงไปเรื่อยๆ และมีโอกาสที่จะคายความชื้น (Desorption) ออกจากตัวเองเช่นกัน โดยเหตุนี้ การใช้ซิลิกา เจล กับประเทศร้อนชื้น ดังเช่นประเทศไทย จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรอบข้างของบรรจุภัณฑ์สินค้า นอกจากนี้การใช้ซิลิกา เจล ในระหว่างการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีความผันผวน หรือ ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของประเทศไทย และประเทศปลายทาง ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการดูดและคายความชื้นของซิลิกา เจล เป็นอย่างยิ่ง

ซิลิกา เจล ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป มี 2 ชนิด คือ เม็ดสีใสๆ ขนาด 2-5 มิลลิเมตร และ เม็ดสีน้ำเงิน (Indicating Silica Gel) ขนาดเท่าๆ กัน คุณสมบัติของซิลิกา เจลทั้ง 2 ชนิดนี้ แตกต่างกันตรงที่มีการเติม Cobalt Chloride ลงไปทำให้มีสีน้ำเงินบนเม็ดซิลิกา เจล สีน้ำเงินนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อความชื้นสัมพัทธ์รอบข้าง สูงขึ้นมากกว่า 40% ซิลิกา เจล ชนิดนี้มีประโยชน์ในการสังเกตได้โดยง่ายว่าสินค้ามีโอกาสเสี่ยงต่อความชื้นมากน้อยเพียงไร หากซิลิกา เจล ที่ใช้ยังคงมีสีน้ำเงิน หรือ ไม่เปลี่ยนสีมากนัก แสดงว่าความชื้นรอบข้างถูกซิลิกา เจล ดูดไว้และมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำ ในทางตรงกันข้าม หากสีของซิลิกา เจล เปลี่ยนเป็นสีชมพู แสดงว่าความชื้นรอบข้างนั้น มีปริมาณที่สูงเกินกว่าที่ซิลิกา เจล จะดูด และควบคุมให้อยู่ในระดับที่ต่ำได้

อย่างไรก็ตามการใช้ซิลิกา เจล ชนิดสีน้ำเงินนี้ ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยระดับโลกบางแห่ง เช่น European Commission และ International Agent for Research on Cancer ได้จัด Cobalt Chloride ไว้อยู่ในประเภทของสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogen) หากสูดดมเข้าไป และอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้

2.ไดอะตอมมาเชียส เอิร์ธ (Diatomaceous Earth) หรือที่เรียกว่า “ดินไดอะตอม”

เป็นดินที่เกิดจากซากพืชเซลล์เดียว ที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อได้รับการเผาที่อุณหภูมิสูง และเติมสารเร่งปฏิกิริยาบางชนิด เช่น แคลเซียม คลอไรด์ (Calcium Chloride) จะมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดีมากถึง 70-80% ของน้ำหนักตัวเอง เมื่อเทียบกับซิลิกา เจล แล้ว อัตราความเร็วในการดูดความชื้น ของ ไดอะตอมมาเชียส เอิร์ธ จะต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 25C และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 75%

ซิลิกา เจล จะดูดความชื้นจนอิ่มตัวภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในขณะเดียวกันต้องใช้เวลาหลายๆ วันหรือเป็นเดือน สำหรับไดอะตอมมาเชียส เอิร์ธ ที่จะดูดความชื้นจนอิ่มตัว

อย่างไรก็ตาม การดูดความชื้นของไดอะตอมมาเชียส เอิร์ธ นี้มีแรงดึงดูดของโมเลกุลค่อนข้างมาก การคายความชื้นเมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้นมีน้อยมาก หรือ ไม่เกิดขึ้นเลย ความสามารถในการดูดความชื้นที่มากอัตราเร็วของการทำงาน ที่ไม่เร็วจนเกินไป และโอกาสในการคายความชื้นที่ต่ำมาก เป็นเหตุให้ไดอะตอมมาเชียส เอิร์ธ เป็นทางเลือกที่ดีของสารดูดความชื้น และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

3.มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์ (Montmorillonite Clay)

เป็นดินธรรมชาติที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุนจำนวนมาก ดินประเภทนี้เมื่อได้รับการเผาที่อุณหภูมิสูง (Calcination) จะทำให้ความสามารถในการดูดความชื้น และ การคงสภาพหลังการใช้ดีขึ้นโดยปกติ มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์ มีความสามารถในการดูดความชื้นประมาณ 25% ของน้ำหนักตัวเอง ประสิทธิภาพดังกล่าว จะลดลงค่อนข้างมาก เมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเหตุนี้ การใช้มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง จะต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดข้อนี้ เช่นเดียวกับการใช้ซิลิกา เจล

4.โมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve)

โมเลกุลลาณ์ ซีฟ (Molecular Sieve) หรือที่เรียกว่า Synthetic Zeolite เป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ที่ดีมากๆ ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์รอบข้าง ในระดับต่ำ (10%-30%) โดยมีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นประมาณ 22% ของน้ำหนักตัวเอง โครงสร้างพิเศษทำให้โมเลกุลลาร์ ซีฟ มีพื้นผิวสัมผัส ประมาณ 7-800 ตารางเมตร ต่อ 1 กรัม และมีแรงดึงดูดความชื้นที่สูงมาก ข้อดีดังกล่าวทำให้ปัญหาการคายความชื้นน้อยกว่า ซิลิกา เจล และ มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์ เมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โมเลกุลลาร์ ซีฟ ยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ ในการใช้งานกับ อาหารและยา จึงทำให้สารชนิดนี้ยังไม่แพร่หลายมากนัก

5.แคลเซียม ออกไซด์ (Calcium Oxide, CaO)

แคลเซียม ออกไซด์ (CaO) หรือที่เรียกว่า Caustic Lime / Quick LIme เป็นสารที่มีคุณสมบัติเด่นในการดูดความชื้นที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และมีอัตราการคายความชื้นที่ต่ำ เช่นเดียวกับโมเลกุลลาร์ ซีฟ อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการดูดความชื้นค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับสารชนิดอื่นๆ และจะกลายเป็นสารกึ่งเหลว (swell) เมื่อดูดความชื้น จนกระทั่งอิ่มตัว สารดูดความชื้นประเภทนี้มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง (Corrosive) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ของสารดูดความชื้นประเภทนี้ต้องป้องกันไม่ให้สารดูดความชื้นหลุดรอดออกมาได้โดยเด็ดขาด

6.แคลเซียม ซัลเฟต (CaSo4)

แคลเซียม ซัลเฟต (CaSo4) เป็นสารที่ได้จากแร่ยิปซั่ม โดยมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นค่อนข้างต่ำประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวเอง เป็นสารที่คงสถานะได้ดี ไม่เป็นพิษ และไม่กัดกร่อน